ผลิตภัณฑ์
กลีเซอรีน ผลิตภัณฑ์พลอยได้ที่เกิดจากการกระบวนการผลิตไบโอดีเซล ผ่านการสังเคราะห์ด้วยปฏิกิริยา
ทางเคมีทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่น (Transesterification) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติทางเคมีที่หลากหลาย
สามารถนำไปเป็นสารตั้งต้นหรือสารเติมแต่งเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้มากมาย อาทิ
การผลิตสบู่ การผลิตยา การผลิตเครื่องสำอาง เป็นต้น
กลีเซอรีน (Glycerin) หรือ กลีเซอรอล (Glycerol) เป็นสารประกอบอินทรีย์ในกลุ่มของโพลิไฮดริกแอลกอฮอล์ ชนิดหนี่งถือเป็นสารชนิดเดียวกันสําหรับเป็นสารตั้งต้นสําคัญในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ การผลิตสบู่ การผลิตยา การผลิตเครื่องสําอาง เป็นต้น
กลีเซอรีน หรือกลีเซอรอล ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1779 โดยนักเคมีชาวสวีเดน ชื่อ Carl W.Scheele จากการทดลองปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชันในการสกัดนํ้ามันมะกอก กลีเซอรีนหรือกลีเซอรอล มาจากคําว่า glykys แปลว่า “หวาน” โดยในระยะแรกมีการใช้ประโยชน์สําหรับเป็นส่วนผสมของกาวทําให้กาวมีความเหนียวมากขึ้น รวมถึงส่วนผสมของสีย้อม และนํ้าหมึก ต่อมาถูกประยุกต์ใช้สําหรับทําระเบิดไดนาไมด์ ในรูปของไตรกลีเซอรีนผสมกับซิลิกา
ข้อแตกต่างของกลีเซอรีน กับกลีเซอรอล
กลีเซอรีน และกลีเซอรอลถือเป็นสารเดียวกัน แต่ผู้ใช้ทั่วไปมักเรียกกลีเซอรีน (Glycerin) และกลีเซอรีนจะมีความบริสุทธิ์น้อยกว่า มักมีการปนเปื้อนสิ่งต่างๆ เช่น นํ้า สี เป็นต้น และกลีเซอรีนจะใช้เรียกสําหรับอ้างถึงสารละลายในทางการค้าของกลีเซอรอลที่มีนํ้าเจือปนโดยมีกลีเซอรอลเป็นองค์ประกอบโดยส่วนใหญ่ กลีเซอรอลดิบจะมีความบริสุทธิ์ประมาณ 70 - 80 เปอร์เซ็นต์ และความบริสุทธิ์มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ มักเป็นผลิตภัณฑ์ค้าขายในเชิงพาณิชย์ สําหรับชื่ออื่นนอกเหนือจาก Glycerol และ Glycerin ได้แก่ propane - 1,2,3 - triol, 1,2,3 – propanetriol, 1,2,3 trihydroxypropane, glyceritol และ glycyl alcohol
- มีสถานะปกติเป็นของเหลวข้น ไม่มีสี มีรสหวาน
- สูตรทางเคมี C3H8O3
- มวลอะตอม 92.09382 กรัม/โมล
- ความหนาแน่น 1.261 กรัม/ลบ.ซม.
- จุดหลอมเหลว 18 องศาเซลเซียส
- จุดเดือด 290 องศาเซลเซียส
- ความหนืด 1.2 pa-s
- แรงตึงผิว (20 องศาเซลเซียส) 63.4 มิลลินิวตัน/เมตร
- จุดวาบไฟ (ระบบเปิด) 177 องศาเซลเซียส
- จุดติดไฟ 204 องศาเซลเซียส
- ละลายได้ในนํ้า และแอลกอฮอล์ ไม่ละลายในเบนซีน อีเทอร์ และนํ้ามัน
-
กลีเซอรีนสามารถผลิตได้จากกระบวนการไฮโดรไลซีสของน้ำมันจากพืช และไขมันจากสัตว์โดยมีกรด หรือ เบสเจือจางเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเกิดเป็นกลีเซอรอล กับกรดไขมัน
ไขมันพืช / สัตว์ + น้ำ = กลีเซอรีน / กลีเซอรอล + กรดไขมัน
-
กลีเซอรีน สามารถผลิตได้จากกระบวนการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ที่ถือเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการสะปอนนิฟิเคชัน ได้สบู่ แอลกอฮอล์ และน้ำผสมรวมอยู่ซึ่งการผลิตไบโอดีเซลทุกๆ 9 กิโลกรัม จะเกิดกลีเซอรอล ประมาณ 1 กิโลกรัมเสมอ
ไขมันพืช / สัตว์ + ด่าง = สบู่ + กลีเซอรีน / กลีเซอรอล + แอลกอฮอล์ + น้ำ
-
การผลิตที่ได้จากกระบวนการการทรานส์เอสเทอริฟิเคชันได้เมทิลเอสเทอร์กับกลีเซอรีน
ไขมันพืช / สัตว์ + เมทิลอแลกอฮอล์ = กลีเซอรีน / กลีเซอรอล + เมทิลเอสเทอร์
ประโยชน์ในอุตสาหกรรม
เครื่องสำอาง
กลีเซอรีนสามารถช่วยในการหล่อลื่นได้ มีคุณสมบัติเหมือนมอยซ์เจอร์ไรเซอร์จึงนิยมใช้มากในอุตสาหกรรมสบู่ และโลชั่น เนื่องจากปกป้องผิวไม่ให้แห้ง สามารถดูดซับความชื้นเมื่อสัมผัสกับอากาศ ทำให้ผิวมีความชุ่มชื้น และยังปลอดภัยต่อผิวหนัง รวมถึงการนำกลีเซอรีนไปประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ในห้องน้ำและสุขอนามัยต่างๆ ในครัวเรือนอย่าง ยาสีฟัน ยาสระผม น้ำยาบ้วนปาก เป็นต้น
ประโยชน์ในอุตสาหกรรม
อาหารและเครื่องดื่ม
กลีเซอรีนสามารถใช้เป็นสารเพิ่มความหวาน และใช้แทนน้ำตาลได้ มักพบมากใน ลูกอม สุรา นอกจากนี้ยังใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารเพื่อใช้เป็นสารเก็บความชื้น และยังช่วยป้องกันไม่ให้อาหารแห้งได้อีกด้วย
ประโยชน์ในอุตสาหกรรม
ทางการแพทย์
เนื่องจากกลีเซอรีนเป็นสารไม่มีพิษ จึงถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์ เช่น การทำยาเหน็บทวาร ใช้เป็นยาระบาย และยังสามารถใช้เป็นยาเฉพาะที่สำหรับปัญหาทางผิวหนังหลายชนิด อย่างโรคผิวหนัง ผื่น แผลไฟลวก แผลกดทับ และบาดแผลจากของมีคมอีกด้วย นอกจากนี้กลีเซอรีนถูกนำไปใช้เพื่อรักษาโรคเหงือกได้ เนื่องจากสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องได้