ผลิตภัณฑ์
ณ ศาลาดุสิตาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ในวันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม 2548 ความว่า
“เราทำแล้วก็หมายความว่าเราไม่เดือดร้อน ถึงเวลาเราอายุร้อยสิบแปด ถ้าอย่างไรเราก็ใช้น้ำมันปาล์มของเราเอง
คนอื่นอาจจะไม่ได้ คนอื่นอาจจะไม่มี แต่ว่าเรามี เพราะเราขวนขวาย ขวนขวายหาวิธีที่จะทำเชื้อเพลิงทดแทนได้
ถ้าไม่ได้ทำเชื้อเพลิงทดแทน เราก็เดือดร้อน แล้วก็เป็นห่วง แต่เราไม่ต้องเป็นห่วง
ถ้าคนอื่นเขาไม่ทำ เขาอาจจะไม่มีน้ำมันไบโอดีเซลใช้ แต่ว่าเรามี เราคือข้าพเจ้าทำเอง”
“ไบโอดีเซล” เป็นเชื้อเพลิงทดแทนเชื้อเพลิงประเภทดีเซลซึ่งผลิตจากธรรมชาติ
(พืชพลังงาน) สามารถย่อยสลายได้ตามกระบวนการชีวภาพในธรรมชาติซึ่งไม่เป็นพิษ และถือว่าเป็นพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยวิธีการนำน้ำมันจากปาล์มบริสุทธิ์ เข้าสู่กระบวนการทางเคมีที่เรียกว่าทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่น (Transesterification) โดยทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ (เมทานอลหรือเอทานอล) และมีด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จะได้ผลิตผลเป็นเอสเทอร์ (Ester) หรือที่เรียกว่า "ไบโอดีเซล" และมีผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้เป็นกลีเซอรีน (Glycerin) ซึ่งไบโอดีเซลชนิดเอสเทอร์นี้ มีลักษณะคล้ายกับน้ำมันดีเซล ทำให้สามารถใช้แทนกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงอื่นๆ
ปัจจุบันน้ำมันดีเซลที่ใช้ตามสถานีบริการมีไบโอดีเซลผสม 7% เรียกว่า B7
“รู้หรือไม่? ต้นปาล์มมีอายุยืนถึง 25 ปี”
บริษัทฯ ได้คัดเลือกผลผลิตจากปาล์มน้ำมัน เพื่อใช้ในการผลิตไบโอดีเซล โดยมุ่งเน้นการสร้างงาน และสร้างอาชีพให้เกษตรผู้ปลูกปาล์ม นอกจากนี้ "ปาล์มน้ำมัน" ถือเป็นพืชที่มีศักยภาพในการนำมาผลิตไบโอดีเซลที่สูงกว่าพืชน้ำมันชนิดอื่น และมีปริมาณผลผลิตสูง รวมทั้งยังเป็นพืชยืนต้น ทำให้ทนต่อผลกระทบจากธรรมชาติ เติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อนชื้น พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่มักปลูกบริเวณภาคใต้ เช่น กระบี่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร สตูลและตรัง
กระบวนการทำน้ำมันปาล์มให้บริสุทธิ์ (Pretreatment Unit)
เป็นกระบวนการเตรียมคุณภาพของน้ำมันปาล์มให้พร้อมสำหรับการผลิต Biodiesel โดยเริ่มจากการเติมกรดฟอสฟอริกเพื่อกำจัดยางเหนียวแล้วเติมแป้ง
ฟอกสีเพื่อทำการดูดซับสิ่งสกปรกที่ปะปนในน้ำมันปาล์มดิบ และแป้งฟอกสียังทำหน้าที่กรองยางเหนียวออกจากน้ำมันปาล์มก่อนที่จะทำการกลั่นน้ำมันปาล์ม
เพื่อแยกกรดไขมันออกจากน้ำมันปาล์มดิบ ทำให้ได้เป็นน้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ (RPO) และกรดไขมันจากการกลั่นน้ำมันปาล์ม
การทำปฏิกิริยา Transesterification
เป็นการนำน้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ (RPO) หรือ ไขปาล์ม (RPS) มาทำ
ปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน กับ Methanol โดยต้องมีการเติม
เมทานอลส่วนเกิน เพื่อให้ปฏิกิริยาเกิดเป็น Methylester มากที่สุด
โดยใช้ ด่าง เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้ได้ ไบโอดีเซล และ กลีเซอรีน
เป็นผลพลอยได้ที่ได้จากกระบวนการ
การทำปฏิกิริยา Esterification
เป็นการเปลี่ยนกรดไขมันที่ได้จากการกลั่น (PFAD) ให้เป็น Biodiesel
โดยการทำปฏิกิริยากับ เมทานอล โดยใช้ กรด เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
เนื่องจาก Biodiesel ที่ได้มีความบริสุทธิ์ไม่เป็นไปตามสเปคของ B100
จึงต้องมีการป้อนเข้าหน่วย Transesterification อีกครั้ง
Crude Biodiesel ที่ได้จากการผลิต ทำการล้างสิ่งปนเปื้อนที่ได้จากการผลิตด้วยน้ำ จากนั้นทำการระเหยน้ำล้าง Biodiesel ออกก่อนป้อนลงถัง
Methanol ส่วนเกินที่ดึงออกจากแต่ละหน่วยจะมาทำการกลั่นเพื่อให้ Methanol มีความบริสุทธิ์ > 99.5%
Biodiesel Production Diagram
การใช้ไบโอดีเซลสามารถช่วยลดควันดำและมลพิษในอากาศ ซึ่งเป็นผลมาจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์สมบูรณ์ และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดภาวะ
เรือนกระจกโดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จึงสามารถแก้ปัญหาโลกร้อนได้เป็นอย่างดี
-
ลดควันดำ
-
ลดก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์
(CO) -
ลดฝุ่นละออง
-
ลดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
(SO2)
การใช้ไบโอดีเซลในเครื่องยนต์ สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ เนื่องจากไบโอดีเซลมีออกซิเจนผสมอยู่ประมาณ 10%
ทำให้การผสมระหว่างอากาศกับน้ำมันมีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ และเป็นการเพิ่มอัตราส่วนปริมาตรของอากาศต่อน้ำมันได้เป็นอย่างดี
-
ค่าแรงบิดเพิ่มขึ้น
-
ให้กำลังเพิ่มขึ้น
เมื่อเทียบกับน้ำมันดีเซล